
ในยุคสมัยเริ่มต้นของการก่อสร้างทางหลวง กรมทางหลวงนิยมใช้ชื่อ หรือบุคคลที่มีความสำคัญในสายทางนั้นมาตั้งชื่อถนนหรือสะพาน เช่น ถนนวิภาวดีรังสิต สะพานสารสิน เป็นต้น ต่อมาได้มีการพัฒนาระบบโครงข่ายทางหลวงทั่วประเทศเป็นจำนวนมาก การใช้ชื่ออาจจะก่อให้เกิดการสับสน และไม่สามารถทราบว่าทางสายนั้นอยู่ในภาคใด ดังนั้นจึงได้มีการนำระบบหมายเลขทางหลวงมาใช้กำกับทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงสัมปทาน ที่อยู่ในความดูแลของกรมทางหลวง โดยหมายเลขกำกับมีความหมายบอกถึงภาคที่ตั้งของเส้นทาง แต่อาจจะมีการคาบเกี่ยวกันระหว่างภาค เนื่องจากแต่ละหน่วยงานมีการแบ่งจังหวัดในแต่ละภาคต่างกันบ้างเล็กน้อย ดังนี้
- ทางหลวงสายที่ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 1 แสดงว่าทางสายนั้นอยู่ในภาคเหนือ และบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ทางหลวงสายที่ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 2 แสดงว่าทางสายนั้นอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและบางส่วนของภาคเหนือ และภาคกลาง
- ทางหลวงสายที่ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 3 แสดงว่าทางสายนั้นอยู่ในภาคกลาง ภาคตะวันออกภาคตะวันตก และบางส่วนของภาคใต้
- ทางหลวงสายที่ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 4 แสดงว่าทางสายนั้นอยู่ในภาคใต้
ทางหลวงสายตะวันออก - เฉียงเหนือ |
ลำดับที่ 1 ทางหลวงหมายเลข 202 (ถนนอรุณประเสริฐ)เป็นถนนสายรองประธานเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดและอำเภอ |
ลำดับที่ 2 บอกตำแหน่งของหลักกิโลเมตร เช่นหลักกิโลเมตรที่ 45ของทางหลวงหมายเลข 202 |
ลำดับที่ 3 บอกระยะทางของอำเภอที่ใก้ลที่สุด |
ลำดับที่ 4 บอกระยะทางของจังหวัดที่ใก้ลที่สุด |
อธิบดีกรมทางหลวง-วีระ เรืองสุขศรีวงศ์"
"หลักกิโลเมตรที่ 0 ของประเทศไทย อยู่ที่หัวมุมถนนดินสอ ใกล้กับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย" อธิบดีกรมทางหลวง เฉลยคำตอบก่อนย้อนรอยที่มาที่ไปให้ฟังว่า...
"อันที่จริงไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ระบุถึงที่มาและที่ไป หรือเหตุผลการปักหมุดหลักกิโลเมตรที่ 0 ไว้ตรงนี้ แต่สันนิษฐานจากการ บันทึกคำกล่าวของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม สมัยที่เป็นนายกรัฐมนตรี ตอนกล่าวในพิธีเปิดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2483 ตอนหนึ่งว่า
"เพื่อเชิดชูคุณค่าของประชาธิปไตย และเพื่อมีเครื่องเตือนใจให้พยายามผดุงรักษาระบอบนี้ให้สถิตสถาพรอยู่ตลอดกาล คณะรัฐบาลจึงลงมติให้สร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อนุสาวรีย์นี้จะเป็นศูนย์กลางแห่งความเจริญก้าวหน้าทั้งมวล เป็นต้นว่า ถนนสายต่างๆที่จะออกจากกรุงเทพฯไปยังหัวเมือง ก็จะนับต้นทางจากอนุสาวรีย์นี้..."
นอกจากนั้นแล้ว ก็มีหลักฐานที่เป็นอักษรที่อ้างอิงจากคำกล่าวของ จอมพล ป. ซึ่งได้เขียนไว้ใน อักขรานุกรม ภูมิศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 1ปี 2506 หน้า 224 ซึ่งเรียบเรียงโดยนายชำนาญ อินทุโศภณ อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม ที่อ้างประกาศราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 67 เล่มที่ 67 วันที่ 12 ธันวาคม 2493 ว่า...
"ถนน 3 สาย ที่ระบุชื่อข้างบน (ถนนพหลโยธิน, ถนนสุขุมวิท และถนนเพชรเกษม) ถือจุดเริ่มต้นความยาวจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จ.พระนคร"
อธิบดีกรมทางหลวง...เฉลยต่อไปว่า เหล่าข้าราชการสมัยนั้น พอได้ฟังคำกล่าวของผู้นำประเทศ ก็ต้องปฏิบัติตาม สร้างหลักทางหลวงขนาดยักษ์ ไว้ ณ หัวมุมถนนดินสอ ใกล้กับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งข้อเท็จจริงแล้วการปักหลักกิโลเมตรที่ 0 หรือเรียกสั้นๆว่า "กม. 0" เป็นเพียงสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์เท่านั้น
"เนื่องจากทางหลวงแผ่นดินสายหลักที่ใช้เป็นโครงข่ายเชื่อมการจราจรระหว่างภาคต่อภาค ล้วนมีจุดเริ่มแรกที่ต่างกัน จะเห็นได้จากข้อมูลของกรมทางหลวงที่ระบุไว้ว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีทางหลวงแผ่นดินอยู่ 4 สาย ได้แก่ 1. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) เริ่มจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เขตราชเทวี กทม.ถึง ชายแดนสหภาพพม่า (ด่านพรมแดนแม่สาย) อ.แม่สาย จ.เชียงราย
2. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) จากทางแยกต่างระดับมิตรภาพ อ.เมืองสระบุรี-ชายแดนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สะพานมิตรภาพไทย-ลาว) อ.เมืองหนองคาย
3. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) จากจุดตัดทางรถไฟสายแม่น้ำ เขตคลองเตย กทม.-ชายแดนราชอาณาจักรกัมพูชา (บ้านหาดเล็ก) อ.คลองใหญ่ จ.ตราด
และ 4. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) จากสะพานเนาวจำเนียร เขตบางกอกใหญ่ กทม.-ชายแดนประเทศมาเลเซีย (ด่านพรมแดนสะเดา บ้านไทย-จังโหลน) อ.สะเดา จ.สงขลา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น